วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

มารู้เรื่องของกุ้งกัน ><

กุ้งจัดให้อยู่ในประเภท คลาส มาลาคอสตราคา (Class Malacostraca) คลาสนี้จัดเป็นคลาสที่ใหญ่ที่สุดในซับไฟลัม สมาชิกที่สำคัญได้แก่ กุ้ง (shrimp) กุ้งใหญ่ (lobster) กุ้งน้ำจืด (crayfish) และปู (crab) จัดอยู่ในออเดอร์เดคพอดา (decapoda) ซึ่งหมายถึงสัตว์ที่มีขา 5 คู่ รวมทั้งขาคู่แรกที่เปลี่ยนเป็นก้ามหนีบขนาดใหญ่
โครงสร้างของลำตัว ร่างกายของกุ้งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีส่วนหัวรวมกับส่วนอกเรียกเซฟาโลทอแรกซ์ (cephalothorax) มีจำนวนปล้อง 13 ปล้อง และส่วนท้องมีจำนวนปล้อง 6 ปล้อง ระยางค์ของลำตัวประกอบด้วย
                                 - ระยางค์ส่วนหัว มี 5 คู่ คือ หนวด 2 คู่ (antenna & antennule) ขากรรไกรล่าง (mandible) 1 คู่ มีลักษณะเป็นฟันบดแข็ง ขากรรไกรบน (maxilla) 2 คู่ ทำหน้าที่ช่วยจับอาหารเข้าปาก 
                                 - ระยางค์ส่วนอกมี 8 คู่ คือ ระยางค์ที่ใช้ในการกิน (maxilliped) ขนาดเล็ก 3 คู่ ขาเดิน 5 คู่ ขาเดินคู่แรกเปลี่ยนเป็นก้ามหนีบ (cheliped) ใช้จับเหยื่อ 
                                 - ระยางค์ส่วนท้อง มี 6 คู่ คือ ขาว่ายน้ำ (pleopod หรือ swimmeret) 5 คู่ ใช้ว่ายน้ำ คู่สุดท้ายเป็นแพนหาง (uropod)
การลอกคราบ (Ecdysis) ครัสตาเซียนเป็นสัตว์ที่มีโครงร่างแข็งภายนอก ดังนั้นจึงมีการเจริญโดยการลอกคราบ ในระยะตัวอ่อนจะมีการลอกคราบได้หลายครั้ง และจะน้อยลงในช่วงที่เป็นตัวเต็มวัย

ระบบกล้ามเนื้อ ผิวลำตัวชั้นนอกมีอีพิเดอร์มิส หุ้มด้วยชั้นของคิวติเคิล ใต้ชั้นอีพิเดอร์มิสเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวกัน และมีกล้ามเนื้อตามยาว ช่วยในการเคลื่อนไหว ประกอบด้วย 1. กล้ามเนื้อเฟลคเซอร์ (flexor muscle) มีอยู่ 2 คู่ เป็นมัดกล้ามเนื้อที่เรารับประทานช่วยในการดีดตัวของกุ้ง 2. กล้ามเนื้อเอคเทนเซอร์ (extensor muscle) มีอยู่ 2 คู่ เป็นมัดกล้ามเนื้อช่วยให้กุ้งเหยียดตัว

ระบบย่อยอาหาร มีระยางค์หลายคู่ช่วยในการจับเหยื่อให้เข้าสู่ปาก ผ่านคอหอยสั้น ๆ เข้าไปยังกระเพาะอาหารส่วนแรก (cardiac stomach) และกระเพาะอาหารส่วนหลัง (pyloric stomach) บริเวณด้านข้างมีรูเปิดของท่อน้ำย่อยจากตับ (digestive gland) เข้ามาช่วยย่อยและมีการดูดซึมในบริเวณนี้ด้วย จากนั้นกากอาหารจะถูกส่งออกตามลำไส้ไปยังทวารที่อยู่ส่วนท้ายของร่างกาย

ระบบหมุนเวียนโลหิตและระบบแลกเปลี่ยนก๊าซ หัวใจอยู่บริเวณด้านเหนือกระเพาะอาหารและอวัยวะสืบพันธุ์ อยู่ในช่องรอบหัวใจ (pericardial cavity) มีช่องเล็ก ๆ ให้เลือดในช่องนี้ไหลเข้าไปในหัวใจได้ เส้นเลือดที่สำคัญมีหลายเส้น และส่งเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ที่สำคัญได้แก่
เส้นเลือด                                      จำนวน                                  หน้าที่การทำงาน 

opthalmic artery                           1 เส้น                                   ออกจากหัวใจด้านหน้าไปเลี้ยงส่วนหัวและกระเพาะอาหาร 
antennary aratery                         1 คู่                                     เป็นเส้นเลือดที่แยกแขนงออกจาก opthalmic aratery ไปเลี้ยงหนวด 
gastric artery                               1 คู่                                      เป็นเส้นเลือดที่แยกแขนงออกจาก opthalmic aratery ไปเลี้ยงกระเพาะ  
hepatic artery                              1 คู่                                      ออกจากหัวใจทางด้านล่างไปเลี้ยงตับ (digestive gland) 
dorsal abdominal artery                  1 เส้น                                   ออกจากหัวใจส่วนท้ายด้านล่าง แล้ววกขึ้นบนไปยังหาง  
stemal artery                               1 เส้น                                   แยกจากดอซัลแอบโดมินับ อาทอรี ลงสู่ด้านล่าง  
ventral artery                               1 เส้น                                  อยู่ทางด้านล่าง แล่นไปส่วนหัวเรียก ventral thoracic artery และแล่นไปส่วนท้อง 
                                                                                           เรียก  ventral abdominal aratery  
เลือดของกุ้งมีสีฟ้าอ่อน เพราะมีองค์ประกอบของฮีโมไซยานิน เมื่อเลือดไหลออกจากหัวใจไปยังเส้นเลือดต่าง ๆ แล้วไหลเข้ามารวมกันที่แอ่งพักเลือดด้านท้อง เลือดจะไหลเข้าสู่เส้นเลือดที่นำไปฟอกยังเหงือก ซึ่งมีอยู่ 8 คู่ ทางด้านข้างของส่วนอก โดยมีแผ่นเปลือกปิดไว้ แต่ละอันมีใยเหงือกเล็ก ๆ เป็นบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อเกิดการฟอกเลือดแล้ว เลือดจะไหลออกเพื่อไหลเข้าสู่ช่องรอบหัวใจแล้วเข้าหัวใจทางรูออสเตีย (ostia)


ระบบขับถ่ายของเสีย อวัยวะที่ใช้ในการขับถ่าย คือ ต่อมที่อยู่บริเวณโคนหนวดเรียกต่อมเขียว (green gland หรือ antennary gland) อยู่ภายในช่องที่มีของเหลวที่เป็นของเสียมารวมอยู่โดยการซึมแพร่เข้าไปในต่อมเขียว ซึ่งมีลักษณะเป็นถุงและส่งไปพักที่บริเวณกระเพาะพัก (bladder)เปิดออกนอกร่างกายที่โคนหนวดคู่ที่ 2


ระบบประสาท ประกอบด้วยสมอง เป็นปมประสาทขนาดใหญ่อยู่บริเวณส่วนหัว มีแขนงแยกไปเลี้ยงตา (optic nerve) และไปเลี้ยงหนวด (antennary nerve) จากปมประสาท สมองมีเส้นประสาทล้อมรอบหลอดอาหาร ลงมายังปมประสาทด้านล่าง รวมกันเป็นปมประสาททรวงอก (thoracic ganglion) ซึ่งมีปมประสาท 7 ปม จากนั้นจะทอดยาวเป็นปมประสาทส่วนท้อง (ventral nerve cord) และมีปมประสาทแยกออกไปยังกล้ามเนื้อและระยางค์ต่าง ๆ 
ระบบสืบพันธุ์ เป็นสัตว์แยกเพศ เพศผู้ประกอบด้วย เทสทิส เพศเมียมีรังไข่อยู่บริเวณด้านหลังของส่วนอก ท่อนำสเปิร์มจะมีรูเปิดออกที่ฐานของขาคู่ที่ 5 ท่อนำไข่จะเปิดออกที่ฐานของคู่ที่ 3 และมีถุงรับสเปิร์มอยู่ระหว่างขาคู่ที่ 4 และขาคู่ที่ 5 ไข่ที่ผสมแล้วจะถูกอุ้มไว้โดยระยางค์ของส่วนท้องจนกลายเป็นตัวอ่อน (nauplius) ซึ่งจะลอกคราบหลายครั้งจนได้ตัวเต็มวัย

วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

การดูเพศกุ้งเคร์สาย p

รูปที่หนึ่งเป็น รูปของ "ตัวผู้" สายP. Clarkii โดยนายแบบของเราเป็น "น้องบลูสปอตตัวผู้" วิธีสังเกตุง่ายๆคือเค้าจะมีท่อเล็กๆยื่นออกมา แถวๆโคนขาคู่สุดท้าย ถ้ามีแบบนี้ก็ตัวผู้นะคร๊า
รูปต่อมาก็เป็น รูปของ "ตัวเมีย" สายP. Clarkii โดยนางแบบของเราเป็น "น้องบลูสปอตตัวเมีย"วิธีสังเกตุง่ายๆคือเค้าจะมีรูเล็กๆ ที่บริเวณโคนขาคู่ที่สาม(นับจากขาคู่สุดท้ายเข้าไป) ถ้ามีแบบนี้ก็ตัวเมียนะคร๊าบ

บทที่5 การดูเพศเคร

สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยงเคร อาจจะงุนงงและสับสน ไม่รู้ว่าจะดูเพศของน้องเครเค้ายังงัยดี มาเลยครับทู้นี้เราจะมาว่ากันถึงเรื่องการดูเพศน้องเครแบบง่ายๆกัน :dontworrie02:

รูปแรกเป็น รูปของ "ตัวผู้" สายCherax โดยนายแบบของเราเป็น "น้องบลูตัวผู้" วิธีสังเกตุง่ายๆคือเค้าจะมีตุ่มเล็กๆยื่นออกมา จากโคนขาคู่สุดท้าย ถ้ามีแบบนี้ก็ตัวผู้นะคร๊าบ :smile02:
ป.ล. รูปดัดแปลงจาก www.bluecrayfish.com
รูปที่สองก็เป็น รูปของ "ตัวเมีย" สายCherax โดยนางแบบของเราเป็น "น้องบลูตัวเมีย" วิธีสังเกตุง่ายๆคือเค้าจะมีรูเล็กๆ ที่บริเวณโคนขาคู่ที่สาม
(นับจากขาคู่สุดท้ายเข้าไป) ถ้ามีแบบนี้ก็ตัวเมียนะคร๊าบ

บทที่4 การเลือกซื้อเคร

สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยงเครนะครับ ส่วนใหญ่จะสับสน ว่าควรจะเลือกซื้อเครยังงัย ถึงจะได้น้องเครที่แข็งแรง และอยู่กับเราไปนานๆ มาครับมาดูกันเลยว่าเราจะต้องดูอะไรบ้าง ในการเลือกซื้อเคร

ร้านค้า อันนี้ดูเหมือนจะตลกนะครับ แต่นี่คือเรื่องจริง ที่ให้ดูร้านค้า เพราะว่าเราจะได้เห็นวิธีการที่ร้านค้า เค้าเตรียมเครไว้เพื่อขาย บางร้านมีการจัดการที่ดี ทำให้น้องเครเค้าไม่เครียดอยู่กันสบายใจ บางร้านจัดการไม่ดี เราก็จะเห็นน้องเครนอนพะงาบๆ รอเวลาสิ้นลม

การตอบสนอง เครที่แข็งแรงจะมีการตอบสนองที่รวดเร็ว อย่างเช่นเวลาที่เราจะจับเค้า เค้าก็จะรีบชูก้ามขึ้นมาทันที เพื่อป้องกันตัวเอง นี่แหล่ะครับเครที่สมควรหมายตาไว้ ส่วนเครที่อ่อนแอก็จะไม่มีปฏิกิริยาใดๆทั้งสิ้น เครแบบนี้ไม่ควรซื้อกลับมาเด็ดขาด

ลักษณะกายภาพ ถ้าเป็นไปได้ควรจะเลือกเครที่อวัยวะครับ แต่ถ้าโดยรวมแล้ว เครคึกได้ใจแต่อวัยวะบางอย่างไม่ครบ เช่นหนวดกุด, ขาหาย, ก้ามหักฯ เราก็ซื้อมาได้นะ เพราะว่าเดี๋ยวตอนลอกคราบ เค้าก็จะงอกออกมาใหม่ครับ ยกเว้น "ตา" เพียงอย่างเดียวนะครับ ที่หลุดไปแล้วไม่สามารถงอกใหม่ได้ และควรจะเลือกซื้อเครที่ตาดำๆ ไม่ขุ่นมัวด้วยครับ

ขนาด เพราะว่าขนาดเป็นอีกจุดนึง ที่จะสามารถบอกถึงอายุของเครได้ เครตัวเล็กๆคือเครเด็กๆ พวกนี้เค้าจะลอกคราบได้บ่อย และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆได้ง่าย และเราสามารถเอาเค้ามาฝึกในเรื่องการกินได้ครับ ในขณะที่เครตัวโตๆนั่นคือเครที่มีอายุมากแล้ว พวกนี้ถ้าซื้อมาแล้วมันมีความเสี่ยงเยอะ เช่นการไม่ยอมปรับตัว การไม่ยอมกินอาหาร

แหล่งที่มา เพราะว่าตอนนี้ในบ้านเรา มีผู้ที่สามารถเพาะลูกกุ้งได้หลายสายพันธุ์แล้ว ลูกกุ้งพวกนี้จะแข็งแรงกว่ากุ้งที่นำเข้า ลูกกุ้งที่เกิดในนี้เค้าจะปรับตัว ให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศได้ดีกว่า

ราคา ก่อนซื้อลองเดินๆเช็คราคาก่อนนะครับ เพราะว่าแต่ละร้านราคาจะต่างกันมาก ไม่เช็คให้ดีก่อนเดี๋ยวจะมาเสียใจเอาทีหลัง

ลองพิจารณาตามนี้ก่อนนะครับ ไว้เดี๋ยวนึกอะไรออกแล้วจะมาเพิ่มเติมให้อีกครับ

วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

โครงงาน

















โครงงานห้อง




    โครงงานเรื่อง MANGROVE FOOD

              จัดทำโดย

     นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1


         กลุ่มสาระสังคมศึกษา
 
                 บทที่  1
 บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
                        เนื่องจากในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ประชากรในประเทศไทยมีการทะเลาะวิวาทและแตกความสามัคคีกันมากขึ้น  นักการเมืองก็โกงกินประเทศชาติมากขึ้น ทั้งมีการแบ่งพรรคแบ่งพวกกันมากขึ้นเรื่อยๆ  ตั้งแต่พวกนักการเมือง พนักงานราชการ แม่ค้า ครู อาจารย์ นักเรียน กรรมกรแบกหาม และประชากรในประเทศไทย  ทั้งๆที่ประเทศไทย  ขึ้นชื่อว่าเป็น “ สยามเมืองยิ้ม ”  แต่ประชากรในประเทศเริ่มจะห่างเหินจากคำว่า “ สยามเมืองยิ้ม ”  เรื่อย ๆ  พวกเราจึงอยากที่จะให้ประเทศไทยกลับมาเป็นประเทศที่สงบ และเป็นประเทศที่น่าอยู่ คนไทยก็ยิ้มแย้ม มีความสามัคคีเป็นที่หนึ่ง พวกเราจึงเริ่มที่จะสร้างความสามัคคีด้วยการเริ่มต้นจากเด็กในห้องเรียนจัดทำโครงงานนี้ขึ้นมา
วัตถุประสงค์
1.เพื่อที่จะสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
2.เพื่อที่จะให้เพื่อนๆในห้องได้มาทำงานร่วมกัน จะได้มีความผูกผันกันมากขึ้น
3.เพื่อที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ของเพื่อนในห้อง
                       บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ความสามัคคี
                 ความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง วิวาทบาดหมางกัน
ความสามัคคี มีด้วยกัน ประการ คือ 1.ความสามัคคีทางกาย ได้แก่ การร่วมแรงร่วมใจกันในการทำงาน 2.ความสามัคคีทางใจ ได้แก่ การร่วมประชุมปรึกษาหารือกันในเมื่อเกิดปัญหาขึ้น
ความสามัคคีดังที่ว่านี้ จะเกิดมีขึ้นได้ ต้องอาศัยเหตุที่เรียกกันว่า สาราณียธรรม ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน กระทำซึ่งความเคารพระหว่างกัน อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยดี มีความสุข ความสงบ ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง ทำร้ายทำลายกัน มี ประการ คือ 
1.ทำต่อกันด้วยเมตตา คือ แสดงไมตรีและความหวังดีต่อเพื่อนร่วมงาน ร่วมกิจการ ร่วมชุมชน ด้วยการช่วยเหลือธุระต่างๆ โดยเต็มใจ แสดงอาการกิริยาสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
2.พูดต่อกันด้วยเมตตา คือ ช่วยบอกสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอนหรือแนะนำตักเตือนกันด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
3.คิดต่อกันด้วยเมตตา คือ ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน
4.ได้มาแบ่งกันกินใช้ คือ แบ่งปันลาภผลที่ได้มาโดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อย ก็แจกจ่ายให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน
5.ประพฤติให้ดีเหมือนเขา คือ มีความประพฤติสุจริต ดีงาม รักษาระเบียบวินัยของส่วนรวม ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจ หรือทำความเสื่อมเสียแก่หมู่คณะ
6.ปรับความเห็นเข้ากันได้ คือ เคารพรับฟังความคิดเห็นกัน มีความเห็นชอบร่วมกัน ตกลงกันได้ในหลักการสำคัญ ยึดถืออุดมคติหลักแห่งความดีงาม หรือจุดหมายอันเดียวกัน
ธรรมทั้ง ประการนี้ เป็นคุณค่าก่อให้เกิดความระลึกถึง ความเคารพนับถือกันและกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน เพื่อป้องกันความทะเลาะ ความวิวาทแก่งแย่งกัน เพื่อความพร้อมเพรียงร่วมมือ ผนึกกำลังกัน เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

อานิสงส์ของความสามัคคีนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า เป็นบ่อเกิดแห่งความสุข ความเจริญ เป็นเหตุแห่งความสำเร็จในกิจการงานต่างๆ การงานอันเกินกำลังที่คนๆ เดียวจะทำได้ เช่น การก่อสร้างบ้านเรือน ต้องอาศัยความสามัคคีเป็นที่ตั้ง แมลงปลวกสามารถสร้างจอมปลวกที่ใหญ่โตกว่าตัวหลายเท่าให้สำเร็จได้ ก็อาศัยความสามัคคีกัน เพราะฉะนั้น การรวมใจสามัคคีกันจึงเกิดมีพลัง ส่วนการแตกสามัคคีกันทำให้มีกำลังน้อย
โทษของการแตกสามัคคีกันนั้น ท่านกล่าวไว้ว่า หาความสุข ความเจริญไม่ได้ ไม่มีความสำเร็จด้วยประการทั้งปวง เหตุให้แตกความสามัคคีกันนี้ อาจเกิดจากเหตุเล็กๆ น้อยๆ ก็เป็นได้ เหมือนเรื่องน้ำผึ้งหยดเดียว แต่เป็นเหตุให้เกิดสงครามได้เหมือนกัน ดูตัวอย่างเรื่องพวกเจ้าลิจฉวีในเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี มีความสามัคคีกัน พระเจ้าอชาตศัตรูก็ทำอะไรไม่ได้ แต่พอถูกวัสสการพราหมณ์ยุยงให้แตกสามัคคีกันเท่านั้น ก็เป็นเหตุให้พระเจ้าอชาตศัตรู เข้าโจมตีและยึดเมืองเอาไว้ได้ในที่สุด
ดังนั้น ความสามัคคี ถ้าเกิดมีขึ้นในที่ใด ย่อมทำให้ที่นั้นมีแต่ความสงบสุข ความเจริญ ส่วนความแตกสามัคคี ถ้าเกิดมีโกงกางใบใหญ่ ชื่อสามัญ Red Mangrove, Asiatisk Mangrove,Loop-root Mangrove โกงกางใบใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhizophora mucronata Pole.Rhizophora mucronata Lam. จัดอยู่ในวงศ์โกงกาง (Rhizophoraceae) เช่นเดียวกันกับโกงกางใบเล็ก และเฉียงพร้านางแอ
โกงกางใบใหญ่ ยังมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่นๆ อีก เช่น กงเกง (นครปฐม)กงกางนอก โกงกางนอก (เพชรบุรี)กงกอน (เพชรบุรีชุมพร)ลาน (กระบี่)โกงกางใบใหญ่ (ภาคกลาง)กางเกง พังกา พังกาใบใหญ่ (ภาคใต้) เป็นต้น โดยสามารถขึ้นในที่ใด ย่อมทำให้ที่นั้นประสบแต่ความทุกข์ มีแต่ความเสื่อมเสียโดยประการเดียว
พบได้ตามชายฝั่งทะเลตะวันออกของแอฟริกา ทวีปเอเชีย ภูมิภาคมาเลเซีย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ไปจนถึงหมู่เกาตองกาสำหรับในประเทศไทยจะพบต้นโกงกางใบใหญ่ได้มากตามริมคลอง ริมชายฝั่งทะเลที่มีน้ำเค็มท่วมถึงเป็นระยะเวลานาน โดยจะชอบขึ้นในบริเวณที่เป็นดินเลนปนทราย และมักจะขึ้นอยู่ในบริเวณที่ชิดติดกับแม่น้ำ
ลักษณะของโกงกางใบใหญ่
ต้นโกงกางใบใหญ่ จะเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-30เมตร (บ้างก็ว่าสูงประมาณ 30-40 เมตร) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเหนือคอ ราก เมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง ด้านรับแสงจะมีกิ่งก้านมาก เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเทา เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นๆ ส่วนเปลือกในเป็นสีส้ม ในกระพี้เป็นสีเหลืองอ่อน และแก่นเป็นสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้ฝักโดยตรง โดยใช้ฝักแก่ที่ยังสมบูรณ์ไม่มีโรคและแมลงเข้ามาทำลาย โดยดูได้จากบริเวณรอยต่อของฝักกับผลจะมีปลอกสีขาวอมเหลืองหุ้มอยู่ ถ้าหากมีขนาดยาวประมาณ เซนติเมตร และเป็นสีเหลืองแสดงว่าฝักแก่สมบูรณ์แล้ว หรือจะเก็บฝักที่ร่วงหล่นลงน้ำก็ได้ เพราะถ้าฝักแก่สมบูรณ์จะลอยน้ำได้ เมื่อได้ฝักมาแล้วก็ให้นำมาปลูกในทันที เพราะถ้าเก็บไว้นานเท่าไหร่ความสามารถในการงอกก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
สรรพคุณของโกงกาง
ช่วยแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน (ใช้เปลือกต้มกับน้ำดื่ม)[1]
ช่วยแก้อาการท้องร่วง โดยใช้เปลือกนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้น้ำจากเปลือกนำมากินแก้อาการก็ได้เช่นกัน
ช่วยแก้บิด บิดเรื้อรัง โดยใช้เปลือกนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้น้ำจากเปลือกนำมากินแก้อาการก็ได้เช่นกัน
เปลือกใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาสมาน (เปลือก)
ใช้เปลือกตำแล้วนำมาพอกช่วยห้ามเลือดได้ดี หรือจะใช้ใบอ่อนเคี้ยวหรือตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบาดแผลสดและห้ามเลือดก็ได้เช่นกัน (ใบ,เปลือก)บ้างก็ว่าน้ำจากเปลือกก็ใช้ชะล้าแผลและห้ามเลือดได้เช่นกัน (น้ำจากเปลือก) เปลือกนำมาต้มกับน้ำใช้ชะล้างรักษาบาดแผลเรื้อรัง หรือจะใช้น้ำจากเปลือกก็ได้ (เปลือก,น้ำจากเปลือก)
ประโยชน์ต้นโกงกาง
ไม้โกงกาง มีลักษณะเปลาตรง เป็นไม้ที่มีคุณสมบัติแข็งแรง เหนียว ทนทาน จึงเหมาะสำหรับการนำมาแปรรูปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ใช้ในงานก่อสร้าง เช่น ทำกลอนหลังคาจาก รอด ตง อกไก่ของบ้าน หรือใช้ทำไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยันต่างๆ ทำเสาและหลักในที่มีน้ำทะเลขึ้นถึง ทำเยื่อกระดาษ
ประโยชน์ไม้โกงกางที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการนำมาใช้ทำเป็นฟืนและถ่านเกรดคุณภาพดี ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากเป็นไม้ที่ให้ความร้อนสูงและนาน (ให้ค่าความร้อนประมาณ 6,600-7,200 แคลอรี) อีกทั้งยังมีขี้เถ้าน้อยและไม่เกิดสะเก็ดไฟเมื่อนำมาใช้งานอีกด้วย
เปลือกของต้นโกงกางมีสารแทนนินและฟีนอลจากธรรมชาติสูงมาก อีกทั้งยังมีราคาถูกที่สุด ซึ่งสารดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำยา ทำหมึก ทำสี ใช้ในการฟอกหนัง ใช้ทำกาวสำหรับติดไม้ เป็นต้น
เปลือกมีน้ำฝาดประเภท Catechol ให้สีน้ำตาลที่สามารถนำมาย้อมสีผ้าได้ เช่น ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง ฯลฯ
ป่าโกงกางมีความสำคัญอย่างมากสำหรับสัตว์ทะเลต่างๆ เนื่องจากเป็นที่วางไข่และฟักตัวอ่อน และเป็นแล่งที่มีสภาพสมดุลทางธรรมชาติสูงมาก
ป่าไม้โกงกาง สามารถช่วยป้องกันรักษาชายฝั่งทะเลจากการกัดเซาะของกระแสน้ำได้ และยังใช้เป็นแนวกำบังคลื่นลมที่เคลื่อนเข้ามาปะทะชายฝั่งได้เป็นอย่างดี
                   บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน
วิธีการดำเนินการศึกษา
1. คณะผู้จัดทำจัดประชุมเพื่อปรึกษาและวางแผนแล้วนำเค้าโครงของโครงงาน (ตัวอย่างบทคัดย่อ) เสนอครูที่ปรึกษา  เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสม
2.คณะผู้จัดทำได้ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
3.คณะผู้จัดทำได้ประชุมเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้  แล้วจัดสรรข้อมูล  เพื่อเรียงลำดับความสำคัญ  จำแนก และวิเคราะห์ผลการศึกษา
4.คณะผู้จัดทำจึงจัดพิมพ์รูปเล่มโครงงานและสื่อต่างๆ  เพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง
5.คณะผู้จัดทำนำเสนอผลการศึกษาโครงงานต่อผู้ชม  เพื่อให้ผู้ชมสอบถามและตอบข้อซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ชม 
การจัดเตรียมวัตถุดิบและวิธีการทำใบโกงกางทอด
วัตถุดิบในการทำใบโกงกางทอด
1. ใบโกงกาง(ใบใหญ่)
 2. น้ำเปล่า
 3. กุ้งสับหรือหมูสับ ปูอัด
4. น้ำมันพืช
 5. แป้งประกอบอาหาร (โกกิ)
 6. น้ำจิ่มไก่
 7. ผงปรุงรสสำเร็จรูป (บาร์บีก้า บาร์บีคิว)
อุปกรณ์ในการทำใบโกงกางทอด
1.กาละมัง
 2. ตะแกง
 3. มีด
 4. กระทะ
 5. หม้อ
 6. ทัพพี
 7. กรรไกร
 8. ตะหลิว
 9. เตาแก๊ส
 10. จาน
 11. เขียง
 12. ถาด
 13. ช้อน ส้อม
 14. ถ้วยโฟม ชามโฟม
 15. หมวก ถุงมือ ผ้ากันเปื้อน
วิธีการทำใบโกงกางทอด
1.เลือกเอาใบโกงกางใบใหญ่ที่ไม่อ่อน และไม่แก่จนเกินไป หรือใบที่ นับจากยอด
 2.นำมาล้างน้ำแล้วผึ่งให้แห้ง หั่นใบโกงกางออกเป็นสามส่วน
3.นำกุ้งสับ หมูสับ หรือเนื้อสัตว์ที่เตรียมไว้ มาทาลงบนใบโกงกางแล้วนำไปชุบแป้ง
4.นำมาทอดในน้ำมันด้วยไฟอ่อนๆ พอเหลืองได้ที่ตักขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน
5.ถ้าต้องการรสเพิ่มเติมให้ปรุงรสด้วยผงปรุงรสสำเร็จรูป

                    บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
        จากการทำโครงงานเรื่อง โครงงานเรื่อง MANGROVE FOOD หรือ ใบโกงกางทอด ทำให้พวกเราได้ฝึกการทำงานเป็นทีมรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยพวกเราได้จัดทำใบโกงกางทอด ระยะเวลาที่จัดทำโครงงานเป็นระยะเวลา 30 วัน โดยสามารถทำอาหารจากใบโกงกางได้จริง และสามารถขายได้
                  บทที่ 5
สรุปผลการศึกษา
สรุปผลการศึกษา
              การศึกษาการทำใบโกงกางทอด ถือเป็นการนำวัตถุดิบจากธรรมชาติ นำมาปรุงแต่งเพื่อประกอบอาหารคาว หวานได้ตามต้องการ และเป็นวัตถุดิบใกล้ตัวมาประยุกต์ใช้ ส่งเสริมการพัฒนากลุ่มอาชีพให้กับคนในท้องถิ่น
ประโยชน์จากโครงงาน
1.             ได้ศึกษาการทำใบโกงกาง
2.             ได้รับความรู้จากการศึกษาวิจัยการทำใบโกงกางทอด
3.             ได้รู้จักคุณประโยชน์-และโทษของใบโกงกาง
4.             ได้รูจักการแปรรูปใบโกงกาง
5.             ได้ส่งเสริมวัตถุดิบใกล้ตัว ทำให้เกิดอาชีพได้
ข้อเสนอแนะ

        จากการศึกษาโครงงานเรื่อง ใบโกงกางทอด ได้รู้จักการทำใบโกงกางมาแปรรูปเป็นอาหารและช่วยส่งเสริมอาชีพของคนในท้องถิ่นได้

บทที่3 อาหาร

               บทที่3 อาหาร
มือใหม่หัดเลี้ยงหลายๆคน คงจะสงสัยกันใช่มั๊ยครับ ว่าเครเค้ากินอะไรกัน ซื้อมาแล้วเนี่ยเราจะต้องให้เค้ากินอะไร ถามที่ร้านร้านก็บอกให้อาหารปลาก็ได้ อืมห์!ร้านก็ไม่ได้มั่วหรอกนะ เพียงแต่ว่าอาหารปลาอ่ะ มันมีตั้งหลายแบบทั้งแบบเม็ดใหญ่ เม็ดเล็ก แบบลอย แบบจม แล้วทีนี้เราจะต้องให้ตัวไหนอ่ะ งง งง มาเลยครับมาดูกันว่าเราให้อะไรน้องเครเค้ากินได้บ้าง

อาหารกุ้ง เดี๋ยวนี้สบายเลยครับ มีอาหารกุ้งออกมาขายมากมายหลายแบบ ทั้งแบบบรรุจุถุงเล็ก แบบครึ่งกิโลฯ. แบบกระปุก แต่ทั้งหมดก็เป็นอาหารแบบเดียวกับที่เค้าใช้เลี้ยงกุ้งกุลาอ่ะนะ อาหารพวกนี้ต้องให้น้อยๆครับ เพราะว่าถ้าตกค้างแล้ว จะทำให้น้ำเสียเร็วมาก

อาหารปลาแบบจม จริงๆแล้วพวกนี้เป็นอาหารปลาที่หากินตามพื้น อย่างพวกปลาแพะ ปลาซัคเกอร์ ปลาดุก เราก็เอามาช่วยเสริมให้เครกินได้เหมือนกันนะ

หนอนแดงแช่แข็ง ถ้าที่บ้านเราเลี้ยงปลาอยู่ด้วยแล้ว อาหารตัวนี้ก็ดีครับ แบ่งเอามานิดหน่อยให้เค้ากิน จะได้ช่วยเสริมเรื่องอาหารสด ที่สำคัญคือหนอนแดงแช่แข็งจะสะอาด เครกินแล้วไม่มีโรคภัยที่แอบแฝงมาด้วย

หนอนนก เมนูนี้แนะนำมาโดยคุณMagoctodครับ พี่เค้าบอกว่าลองดูแล้วจะชอบ เหมาะสำหรับพวกซาดิส คอยนั่งดูเวลาที่เครจับหนอนนกฉีกเป็นสองท่อน หนอนนกเวลาให้ก็แค่หนอนหนึ่งตัวต่อเครหนึ่งตัวก็พอแล้วนะครับ

ไส้เดือนน้ำ ตัวนี้ก็อย่าให้มากเพราะทำให้น้ำเสียเร็วเหมือนกัน ที่สำคัญมันชอบมุดลงไปอยู่ตามใต้กรวดอีกต่างหาก

ไรทะเล ตัวนี้นานๆให้ซักทีก็ได้ครับ ไม่ซีเรียส

เต้าหู้ไข่ จริงๆแล้วมันคือการดัดแปลง มาจากอาหารที่ใช้ในการเพาะลูกกุ้งนะครับ เพราะว่าต้นตำรับเค้าจะใช้ไข่ตุ๋นแต่ดูแล้วมันวุ่นวาย ไม่เหมือนเต้าหู้ไข่ ที่หาซื้อได้ง่ายกว่า แถมเค้านึ่งมาในระดับนึงแล้ง เราซื้อมาก็เอามาให้เครกินได้เลย ไม่ต้องไปทำอะไรให้ยุ่งยากอีก 

ผัก ก็ลองหาผักที่มีน้ำหนักหย่อนลงไปให้เครเค้ากินดูบ้างนะครับ หรือถ้ามันไม่จมก็อาจจะลวกนิดๆ ทีนี้ก็จะจมแล้วอ่ะนะ

ผลไม้ ลองดูครับผลไม้บางอย่างก็work บางอย่างก็ไม่ อย่างที่เคยลองแล้วน้องเครชอบใจกัน องุ่นเลยครับ

เมล็ดพืช อย่างเม็ดข้าวโพด ถั่วต่างๆแต่ต้องแช่ให้นิ่มๆก่อนนะ 

บทที่2 อุปกรณ์

             บทที่2 อุปกรณ์
สำหรับเพื่อนๆที่อยากจะเลี้ยงกุ้งเคร แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังงัยต้องซื้ออะไรบ้าง มาเลยครับแวะมาอ่านตรงนี้กันก่อนเลย เราจะได้รู้ว่าควรจะมีอะไรบ้างสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง
1.ที่สำหรับเลี้ยง อย่างแรกเลยคือตู้, อ่าง, กล่องโพม, ลังพลาสติค ฯลฯ อะไรก็ได้ที่ใส่น้ำได้นะครับ แต่ที่สำคัญคือควรจะมีขอบสูงๆหน่อยเพื่อป้องกันน้องเครเค้าปีนหนีออกมาอ่ะนะ แต่ถ้าจะให้แจ่มก็ลงทุนซื้อตู้ปลาเลยครับ ไม่ต้องเอาของแพงนักหนาก็เลี้ยงได้แล้ว ตู้ถูกๆราคาไม่แพงก็ใช้ได้ดีเหมือนกันครับ
ถ้าจะเลี้ยงเครในตู้ มาว่ากันถึงขนาดตู้ที่เหมาะสม จริงๆแล้วมันก็ไม่มีกฏตายตัวหรอกนะ ว่าเราจะต้องใช้ตู้กี่นิ้วเลี้ยงเครกี่ตัว แต่ให้เรายึดหลักเอาตามความเหมาะสมจะดีกว่าครับ อย่างถ้าเราเลี้ยงลูกกุ้งขนาดซัก1-1นิ้วครึ่ง ถ้าเป็นตู้เล็กๆขนาดซัก12นิ้ว เราก็อาจจะเลี้ยงได้หลายๆตัวในตู้เดียวกัน แต่ไม่ควรจะให้มากเกินไปนัก เพราะว่าการเลี้ยงรวมกัน น้องกุ้งของเราอาจจะต่อสู้กันจนก้ามหัก ขาหลุด หนวดกุด หางแหว่ง ได้นะครับ แต่ที่น่ากลัวที่สุดคือตอนที่เค้าลอกคราบใหม่ๆตัวยังนิ่มอยู่ ถ้าน้องเค้าโดนกวนตอนนี้ ก็อาจจะกลายมาเป็นอาหารของเพื่อนๆร่วมตู้ได้นะครับ ดังนั้นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดคือการเลี้ยงแยก
การเลี้ยงแยกเราก็อาจจะเลี้ยงแบบปลาหมอสีก็ได้นะ แบบที่เคยเห็นมาคือเค้าลงทุนซื้อตู้ใหญ่ๆ แล้วใช้แผ่นกั้นมาแบ่งเป็นช่องๆไป เลี้ยงไว้ช่องละตัวก็ปลอดภัยดีครับ แถมเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำก็แสนจะสบาย เพราะว่าถ่ายตู้เดียวได้ครบทุกช่องเลย อิอิอิ :D
2. วัสดุรองพื้น(Gravel) อันนี้ก็ต้องบอกว่าแล้วแต่เพื่อนๆนะครับ เพื่อนๆบางคนไม่ใส่เพราะเค้าบอกว่าถ้าเลี้ยงในตู้โล่ง มันเปลี่ยนถ่ายน้ำได้ง่ายและหมดจดกว่า แต่เพื่อนๆที่ใส่วัสดุรองพื้น บางคนเค้ากลัวว่าพื้นตู้โล่งๆน้องกุ้งเราจะเดินลำบากอ่ะครับ เลยใส่ไว้ให้เค้าเดินได้สะดวกหน่อย อ้อ!จริงๆแล้ววัสดุรองพื้นเนี่ย มันก็มีผลต่อสีของน้องกุ้งเค้าด้วยนะครับ เพราะว่ากุ้งเป็นสัตว์ที่สามารถปรับสีตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ด้วย

3. ที่หลบซ่อน(Hodeout) อันนี้ก็สำคัญนะครับ เพราะว่ากุ้งเค้าจำเป็นมากที่จะต้องมีที่หลบซ่อน โดยเฉพาะเวลาที่เค้าลอกคราบใหม่ๆเนี่ย ตัวเค้ายังจะนิ่มอยู่ เค้าเลยต้องหาที่ที่ปลอดภัยสำหลับหลบซ่อนตัวนะครับ เราอาจจะใช้พวกท่อPVCก็ได้
4. ระบบกรอง(Filter system) อันนี้ก็ง่ายๆเลยเลี้ยงเครไม่ต้องยุ่งยากครับ ไปหาซื้อกรองกระปุกอันเล็กๆมาใช้ได้เลย อันนึงไม่กี่สิบบาทเอง หรือถ้าจะเอาแบบดีๆหน่อยก็อันละไม่เกิน50บาทครับ(ราคาที่ซันเดย์) อาจจะแพงมาอีกนิดแต่เนื้องานดีกว่ากันเยอะเลย หรือถ้าจะให้ดูหรูอีกนิดก็แผ่นกรองใต้พื้น แต่ถ้าเทียบกันแล้วเจ้ากรองกระปุกจิ๋วเราจะทำความสะอาดได้ง่ายกว่านะครับ หรือถ้าจะให้ดูไฮโซหน่อย ก็ลงทุนเล่นกรองแขวนไปเลยครับ

5. ปั๊มอ๊อกฯ(Air pump) อันนี้ก็เป็นอุปกรณ์ควบที่จำเป็นจะต้องมี เมื่อใช้กรองกระปุกกับกรองใต้กรวดนะครับ จริงๆแล้วปั๊มอ๊อกฯเนี่ย เราลงทุนซื้อตัวใหญ่ๆยี่ห้อดีๆไปเลยจะคุ้มกว่าครับ เพราะถ้าของดีๆอาจจะดูว่าแพง แต่เรื่องของเสียงเนี่ยมันจะไม่ค่อยดังครับ แถมอายุการใช้งานก็นานกว่ากันเยอะเลย ที่แนะนำให้ซื้อตัวใหญ่ไปเลย เป็นเพราะว่าถ้าเราเลี้ยงหลายตู้ เราก็สามารถต่อสายแยกไปได้หลายทางเลยครับ แบบว่าเสียปลั๊กครั้งเดียวแต่เสียวทุกตู้อ่ะนะ :D,

6. แผ่นปิดตู้(Cover) อันนี้จำเป็นมากๆๆๆไม่ว่าจะเลี้ยงในไหน เพราะว่าน้องกุ้งเค้าสามารถปีนป่ายตามท่ออ๊อกฯออกมาได้นะครับ ถ้าเราไม่หาอะไรมากั้นเค้าไว้ จบข่าวแน่ๆครับพี่น้อง
1. ก้อนหิน(Rock) อันนี้ก็ใส่ได้เพื่อความสวยงามครับ

2. ขอนไม้(Driftwood) ใส่ไปเพื่อให้ตู้ดูไฮโซยิ่งขึ้นนะครับ แต่ข้อควรระวังคืออย่าซื้อขอนไม้แห้งที่ยังไม่จมน้ำมาใช้เด็ดขาด เพราะว่าขอนที่ยังไม่จมจะสร้างปัญหาในระยะยาวได้มากมาย ทั้งน้ำเหลือง ขอนลอย ฯ ถ้าอยากใส่จริงๆแนะนำลองหาซื้อไม้น้ำที่เค้าพันขอนมาใส่เลยครับ(ขอนเล็กๆถูกๆมีขาย) เลือกเอารูปแบบตามที่เราชอบใจ ข้อควรระวังอีกอย่างคือ ขอนไม้ไม่ควรจะสูงเลยขนาดตู้และไม่ควรจะวางพาดกับขอบตู้ มิฉนั้นน้องเค้าจะไต่ขอนออกไปเดินเล่นนอกตู้ได้นะครับ

3. ไฟ(Lighting system) ถ้าตรงจุดที่เราเลี้ยงมีแสงสว่างเพียงพอก็ข้ามไปได้เลยครับ

4. ที่ใส่อาหาร อันนี้เพื่อนๆบางท่านก็ใช้กันอยู่ เป็นเพราะว่าถ้าเราเอาอาหารใส่ไว้เป็นที่เป็นทาง เวลาน้องเค้ากินเหลือเราจะได้ดูดออกหรือเอาออกได้ง่ายๆอ่ะครับ ที่ใส่อาหารอาจจะประยุกต์เอาถ้วยใส่น้ำจิ้ม จานรองแก้ว หรืออะไรที่ดูกิ๊บเก๋หน่อยก็ได้ครับ

ตอนนี้คิดออกเท่านี้อ่ะนะ พี่น้องท่านไหนมีอะไรจะเสริมก็ช่วยๆกันด้วยเน้อ แล้วทู้ต่อๆไปเราจะมาว่ากันถึงเรืองอื่นๆ เช่นอาหารของน้องเครนะครับ

วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

กุ้งเครฟิช !!!

                                                                    







                                                                          บทที่1 เครฟิชคืออะไร

Crayfish จัดอยู่ในกลุ่มของสัตว์ที่เรียกว่า ครัสเตเซี่ยน (Crustaceans) และเป็นสมาชิกของไฟลั่ม อาโทรพอด (Arthropoda) ซึ่งในไฟลั่มนี้สมาชิกอื่นๆอย่าง แมลง (Insecta), แมงมุม (Arachnida), ตะขาบและกิ้งกือ (Myriapoda) สมาชิกไฟลั่ม อาโทรพอด ทุกชนิดจะมีเปลือกที่เราเรียกว่าcuticle สร้างจากแคลเซียมคาร์บอเนตมาปกคลุมลำตัว

และร่างกายของcrayfish นั้นจะสามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนกลางหรือthorax คือส่วนที่มีขาสำหรับเดิน สุดท้ายคือส่วนท้องคือส่วนที่มีเนื้อไว้สำหรับรับประทานนั่นเอง แต่ส่วนหัวและส่วนกลางจะถูกผนึกรวมติดกันเป็นชิ้นเดียว เรียกว่าcephalothorax ด้วยเหตุนี้บางคนก็อาจจะบอกว่าลำตัวของcrayfish นั้นมีแค่สองส่วนก็ได้

crayfish จะมีเปลือก(carapace) ที่ทำหน้าที่คล้ายๆ ชุดเกราะคลุมลำตัว ส่วนหัวและส่วนกลาง ชุดเกราะcarapaceนี้ มีสองหน้าที่คือไว้ปกป้องอวัยวะภายในที่บอบบางอย่างเหงือกหายใจ ที่มีลักษณะคล้ายขนนกบริเวณใกล้ๆปาก สองคือทำหน้าที่สำคัญในระบบหายใจ คือเป็นทางผ่านของน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านช่องเหงือกนั่นเอง ส่วนขาอันมากมายของcrayfishนั้น จะถูกแบ่งออกเป็นสองหน้าที่คือขาเดิน(walking legs หรือ Paraeopods) และขาว่ายน้ำ(swimmerets หรือ Pleopods) สำหรับขาเดินจะมี 5 คู่ด้วยกัน โดยขาเดินคู่แรกสุดถูกพัฒนาขึ้นเป็นก้าม(Claw หรือ Cheliped) ที่แข็งแรงใหญ่โตนั่นเอง ส่วนขาว่ายน้ำนั้นจะเป็นแผ่นแบนๆ มีไว้สำหรับโบกน้ำที่มีออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพื่อการหายใจ รวมทั้งโบกพัดแพลงค์ตอนเข้าหาลำตัว เพื่อเป็นอาหารอีกด้วย สำหรับกุ้งตัวเมียขาว่ายน้ำมีความสำคัญมากกว่านั้น มันจะใช้ขาว่ายน้ำเป็นที่ๆ อุ้มไข่ที่ถูกปฏิสนธิแล้ว


                                                                           ถิ่นที่อยู่ในธรรมชาติ

Crayfish นั้นมีถิ่นกำเนิดกว้างขวางมาก ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเซียตะวันออก และออสเตรเลีย ในปัจจุบันมีการบรรยายอนุกรมวิธานของ Crayfish ไปมากกว่า500ชนิดแล้ว โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งนั้นเป็นCrayfish ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ ในธรรมชาติCrayfish จะอาศัยกกตัวอยู่ตามโขดหินหรือใต้ ขอนไม้อยู่ในทั้งลำธาร หนองน้ำ หรือแม้กระทั่งทะเลสาป

พูดมาถึงจุดนี้แล้วหลายๆท่านอาจจะยังสังสัยว่า เอ๊ะ!ไอ้Crayfishที่ว่านี่มันคือตัวอะไร ทำไมชื่อไม่ค่อยคุ้นหู จริงๆแล้วเจ้าCrayfish ที่กำลังกล่าวถึงนี้เชื่อว่าทุกๆ คนนั้นรู้จักมันในนามของกุ้งล็อบสเตอร์น้ำจืดนั่นเอง

ในบทความนี้เราจะขอจำแนกCrayfish แบบคร่าวๆละกัน ซึ่งแบบที่เข้าใจง่ายที่สุดน่าจะเป็นการแบ่งตามโซนถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือProcambarus ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาและยุโรป อีกกลุ่มหนึ่งคือCherax ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในโซน ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี และอินโดนีเซีย  ส่วนการเลี้ยงดูCrayfish ทั้งสองกลุ่มนี้ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน จึงจะขอกล่าวรวมๆทีเดียวไปเลย


                                                                                 ตู้เลี้ยง
ในกรณีที่ต้องการเลี้ยงCrayfish รวมกันหลายๆตัว ควรจะเลี้ยงในตู้ปลาที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่หน่อย อย่างเช่น ตู้ปลาขนาด24 นิ้วขึ้นไป เนื่องจากCrayfishนั้นมีนิสัยหวงถิ่นและค่อนข้างก้าวร้าว จึงต้องการตู้ เลี้ยงที่ค่อนข้างใหญ่หน่อยเพื่อให้กุ้งแต่ละตัวได้สร้างอาณาเขต ถ้าเลี้ยงในตู้ขนาดเล็ก อาจพบว่าจะมีการตบตี แย่งชิงที่อยู่ ก้ามใหญ่โตทั้งสองข้างนั้นไม่ได้มีไว้แค่ความสวยงามอย่างแน่นอน โดย Crayfishจะใช้ก้ามต่อสู้กันจนก้ามหัก ขาขาด บาดเจ็บหรือกระทบกระทั่งกันบาดเจ็บปางตายได้

เมื่อเลี้ยงCrayfishรวมกันอย่างหนาแน่น จะพบว่าCrayfishขนาดเล็กๆ มักจะถูกรังแกและมีโอกาสที่จะถูกCrayfishที่มีขนาดใหญ่กว่ากินเป็นอาหารได้ การเลี้ยงในตู้เลี้ยงขนาดใหญ่จะช่วยลดโอกาสที่กุ้งแต่ละตัวจะโคจรมาพบกันและต่อสู้ กันได้ นอกจากนี้ผู้เลี้ยงควรจะใส่ขอนไม้ กระถางต้นไม้แตกๆ กะลามะพร้าวที่เจาะเป็นโพรง หรือท่อพีวีซีตัด เป็นท่อนๆเพื่อให้เจ้าCrayfish ได้พักพิงหลบอาศัยในเวลากลางวัน ปกติแล้วช่วงกลางวันมันจะหาที่หมกตัวอยู่เงียบๆ แต่Crayfishจะออกมาจากที่ซ่อนเพื่อหาอาหารในเวลากลางคืนมากกว่า ผู้เลี้ยงอาจจะใส่วัสดุหลบซ่อนตัวไว้คนละมุมตู้เพื่อให้กุ้งได้สร้างอาณาเขตของตนได้ชัดเจนมากขึ้น  เพราะว่าโดยธรรมชาติแล้ว อาณาเขตการหาอาหารของCrayfishแต่ละตัว จะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ40เซนติเมตร

นอกจากนี้Crayfishยังขึ้นชื่อว่าเป็นจอมหายตัว ผู้เลี้ยงหลายๆท่านอาจจะตื่นเช้าขึ้นมาพบว่าเจ้าล๊อบสเตอร์ที่เลี้ยงไว้ ได้หายสาปสูญไป สันนิษฐานได้เลยว่าเจ้ากุ้งน้อยได้เล่นกายกรรมไต่สายออกซิเจนหลบหนีไปแล้ว ค้นหาดีๆจะพบซากกุ้งน้อยตากแห้งอยู่ใกล้ๆก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นตู้เลี้ยง Crayfish ควรจะมีฝาปิดให้มิดชิดด้วย



                                                                               วัสดุปูรองพื้น
ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงCrayfishในตู้ที่ปล่อยพื้นตู้โล่งๆได้เลย ก็เป็นทางเลือกที่สะดวกดี อาจจะใส่ท่อพีวีซีลงไปตามจำนวนกุ้งที่เลี้ยงแค่นั้น เพื่อให้กุ้งได้ หลบซ่อนบ้าง บางท่านที่อาจจคำนึงถึงความสวยงามมากกว่าความสะดวกสะบายในการดูและรักษา อาจจะใช้กรวดปูพื้นตู้ได้ แต่มักพบว่าCrayfish จะมีอุปนิสัยชอบขุดคุ้ยกรวด เพื่อสร้างเป็นรังหลบซ่อนในเวลากลางวัน ในที่สุดพื้นกรวดที่จัดเรียงไว้สวยงามก็จะเป็นหลุมบ่อเหมือนโลกพระจันทร์ไปในที่สุด แต่สำหรับผู้เลี้ยงที่รักที่จะใส่กรวดแล้ว ควรปูกรวดให้หนาประมาณ5เซนติเมตร  เพื่อให้มีความหนาพอสมควรที่Crayfishจะได้ขุดกลบลำตัวได้ อาจจะใช้หินขนาดใกญ่วางซ้อนๆ เป็นโพรงก็ดูสวยงามเช่นกัน แต่ควรจะจัดวางหินตกแต่งให้มีความมั่นคง ป้องกันการพังทลายที่เกิดจากการทรุดตัวของกรวดที่เจ้ากุ้งทั้งหลายขุดคุ้ยด้วย บางคนอาจจะสงสัยว่าใช้ทรายได้ไหม ขอตอบว่าไม่เหมาะสม เพระพื้นทรายนั้นจะมีความหนาแน่นสูง เจ้าCrayfishจอมขุด อาจจะมุดลงไปแล้วจมหายไปชั่วกาลนานเลย เนื่องจากน้ำสะอาดที่มีออกซิเจน ไม่สามารถลงไปถึงใต้ชั้นทราย กุ้งทั้งหลายก็จะขาดอากาศหายใจไปเอง

                                                               ระบบให้อากาศและระบบกรองน้ำ
จริงๆแล้วผู้เลี้ยงไม่จำเป็นที่จะต้องติดตั้งปั้มออกซิเจนในตู้เลี้ยงก็ได้ ในกรณีที่เลี้ยงกุ้งจำนวนไม่มากนัก อย่างที่เราๆเห็นกันจนคุ้นตาในตลาด ปลาสวย งามที่ขายCrayfishกันในกระบะพลาสติกรองน้ำเพียงตื้นๆ Crayfishก็อยู่อาศัยอย่างแฮปปี้แล้ว แต่ระบบให้อากาศที่ดีก็มักจะส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของกุ้งในระยะยาวด้วย เพราะฉะนั้นใครจะสะดวกที่จะติดตั้งระบบอากาศก็ตามสบายเลย  แต่ไม่ต้องถึงกับปล่อยอากาศให้น้ำกระเพื่อมรุนแรงจนดูเหมือนอ่างจากุชชี่ เอาแค่เป็นฟองเบาๆก็พอ ส่วนระบบกรองน้ำนั้นผู้เลี้ยงอาจใช้ระบบกรองราคาถูกและติดตั้งง่ายๆ อย่างกรองบน กรองแขวน หรืออาจจะใช้กรองฟองน้ำที่เป็นตุ้มๆสีดำก็เพียงพอ ส่วนระบบกรองแบบกรองใต้ตู้นั้นอาจจะไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไหร่ เพราะว่ามักจะขุดกรวดขึ้นมาจนเห็นแผ่นกรอง ทำให้ระบบกรองทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเต็มที่

                                                                                    น้ำ
อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงCrayfish คือช่วง 23-28องศาเซลเซียล ค่าPHที่เหมาะสมคือประมาณ PH7.5 - 10.5ที่มีความกระด้างสูง ผู้เลี้ยงสามารถใส่เกลือลงไปในตู้ได้ นอกจากนี้เกลือยังช่วยเสริมแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการลอกคราบและสร้างเปลือกใหม่ด้วย สำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ผู้เลี้ยงควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆแต่ทีละน้อยๆ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงอุณภูมิฉับพลัน น้ำที่ใช้ควรจะสะอาดและปราศจากคลอรีนด้วย

                                                                                 อาหารการกิน
Crayfish นั้นเป็นOmnivores คือสามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด แต่ในธรรมชาติมันจะกินอาหารประเภทพืชผัก รากไม้ ใบไม้ ผลไม้เป็นหลัก ในที่ เลี้ยงผู้เลี้ยงสามารถให้ ข้าวโพด มันฝรั่ง ถั่วลันเตา ฟักทอง แอปเปิ้ลได้ พรรณไม้น้ำที่ใช้ตกแต่งตู้อาจโดนรื้อทึ้งเป็นอาหารได้ เพราะฉะนั้นไม่สมควรใส่ลงไป เพราะเจ้าCrayfishอาจจะฉีกทำลายได้ ผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศนั้นแนะนำให้ผู้เลี้ยงให้ ใบโอ๊ค (หรือชื่อไทยๆ ก็ใบหูกวางนี่แหละ)ตามโอกาส เพราะเชื่อว่าใบหูกวางสามารถป้องกันรักษาโรคตามธรรมชาติของเจ้าCrayfish

นอกจากอาหารผักแล้วอาจจะให้อาหารประเภทเนื้อสัตว์ร่วมด้วยเช่น เนื้อ ไก่ เนื้อหมู เนื้อปลา เนื้อกุ้งทะเลหรือกุ้งฝอยหั่นชิ้นเล็กๆได้ ถ้าให้ง่ายยิ่งไปกว่านั้นอาหารเม็ดสำเร็จรูปชนิดจมสูตรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสูตรปลาทอง ปลากินเนื้อ ปลาซักเกอร์หรือของปลาแพะทั้งหมดนั้น จะเป็นทางเลือกที่ค่อนข้างสะดวกและCrayfishก็ชอบกินด้วย

สรุปสั้นๆว่าจะให้อาหารประเภทไหนCrayfishนั้นไม่เรื่องมาก ใส่อะไรลงไปก็สามารถคีบกินได้ทั้งนั้น สำหรับความถี่ในการให้อาหารนั้นไม่ต้องให้บ่อย อาจจะให้อาหารเพียงแต่ชิ้นสองชิ้นสำหรับกุ้งหนึ่งตัว ทุกๆ2-3 วันก็เพียงพอ ให้น้อยๆให้เจ้าCrayfishกินหมด ดีกว่าให้เยอะแล้วเศษอาหารตกค้าง น้ำจะเน่าเสียเปล่าประโยชน์ เพราะCrayfishในธรรมชาตินั้นไม่กินอาหารทุกวัน สำหรับการให้อาหารนั้นควรจะให้เวลากลางคืน เพราะCrayfishจะออกหากินในเวลากลางคืน และCrayfishยังสามารถเรียนรู้ที่จะมาขออาหารจากผู้เลี้ยงได้อีกด้วย โดยจะมาอ้าแขนชูก้ามโตๆ รอเวลาอาหาร ผู้เลี้ยงสามารถฝึกป้อนอาหารCrayfishด้วยมืออีกด้วย แต่ต้องใช้เวลาสร้างความคุ้นเคยสักนิด

ในกรณีคุณภาพน้ำเริ่มเน่าจากเศษอาหารตกค้างCrayfish จะเริ่มแสดงอาการของโรคเปลือกขาว โดยคราบขาวๆจะเริ่มก่อตัวที่บริเวณส่วนหางและ กระจายไปครอบคลุมทั้งลำตัวและอาจตายได้ เพราะฉะนั้นควรรักษาคุณภาพน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ


                                                                                การเพาะพันธุ์
ท่านผู้อ่านหลายๆ ท่านที่เลี้ยงCrayfishอยู่ อาจจะมีประสบการณ์เห็นลูกกุ้งตัวจิ๋วๆ ออกเดินเพ่นพ่านทั่วตู้กันมาแล้ว เพราะว่ากุ้งCrayfishนี้สามารถ เพาะพันธุ์ได้อย่างไม่ยากนัก หลายๆครั้งที่มีโอกาสเดินผ่านร้านขายปลาแล้วเห็นเจ้าCrayfishคู่ผัวตัวเมีย นัวเนียปฏิบัติการเฉพาะกิจต่อหน้าธารกำนัลในกระบะกันอย่างโจ่งแจ้งเลยทีเดียว Crayfishนั้นทำการผสมพันธุ์ตลอดปี ผู้เลี้ยงสามารถขยายพันธุ์Crayfishในตู้เลี้ยงได้ง่ายๆ เพียงแค่ขอให้มั่นใจได้ว่าได้เลือกซื้อCrayfishมาเป็นคู่เพศผู้ - เพศเมีย กระบวนการนั้นไม่ต้องพิธีรีตองอะไร เช่นเดียวกับการเพาะพันธุ์กุ้งแคระ แค่นำกุ้งเพศผู้ - เพศเมีย หรือพ่อแม่พันธุ์ปล่อยรวมกันก็พอ

วิธีจำแนกเพศได้แน่นอนที่สุดคือจับมันหงายท้องแล้วสังเกตอวัยวะสืบพันธุ์ที่เรียกว่าgonopodsที่ช่วงขาเดินค่ะ โดยกุ้งตัวผู้มีอวัยวะคล้ายตะขอบริเวณขาเดินคู่ที่2 และ 3 ซึ่งตะขอนี้มันจะเอาไว้เกี่ยวเกาะตัวเมียตอนผสมพันธุ์ สังเกตที่บริเวณขาเดิน ถ้าเป็นเพศผู้จะมีอวัยะสืบพันธุ์(papillae) บริเวณขาเดินคู่สุดท้าย(คู่ที่ 4) ส่วนตัวเมียจะมีอวัยะสืบพันธุ์(annulus ventralis) เป็นแผ่นทรงวงรีสีขาวๆ ขนาดประมาณ1-2 มม. บริเวณขาเดินคู่ที่3 นอกจากนี้บริเวณขาว่ายน้ำคู่แรกและคู่ที่2ของตัวผู้จะถูกพัฒนาขึ้นเป็นแขนเล็กๆสองข้าง (petasma)มีไว้สำหรับส่งผ่านถุงน้ำเชื้อไปยังตัวเมีย

การจำแนกเพศตัวผู้เมีย โดยการสังเกตจากแขนที่ไว้ส่งผ่านน้ำเชื้อ หรือpetasmaสามารถใช้ได้กับCrayfishที่มีถิ่นกำเนิดจากทวีปอเมริกาและ ยุโรปเท่านั้น ส่วนCrayfishที่มีถิ่นกำเนิดในโซนออสเตรเลียจะไม่มีอวัยวะดังกล่าว จึงต้องใช้วิธีสังเกตgonopodsบริเวณโคนขาเพียงอย่างเดียว

สรุป ถ้าท่านผู้อ่านต้องการเลือกซื้อCrayfish เป็นคู่เพศผู้ - เพศเมีย เพียงแค่จับกุ้งหงายท้อง ดูแค่ให้กุ้งทั้งสองตัวมีอวัยวะสืบพันธุ์บริเวณโคนขาที่ แตกต่างกันก็พอ

การผสมพันธุ์จะเริ่มโดยตัวผู้จะเข้าประกบตัวเมียทางด้านหลัง และพลิกลำตัวเพศเมียให้หงายท้องแล้วตัวผู้จะเข้าประกบโดยใช้ตะขอพิเศษที่ขาเดินล็อคตัวเมียเอาไว้ในท่วงท่าท้องชนท้อง หันหัวไปในทิศทางเดียวกัน หลังจากนั้นตัวผู้จะส่งผ่านถุงน้ำเชื้อไปปะติดไว้บริเวณท้องของตัวเมีย กระบวนการที่กุ้งทั้ง สองตัวนอนกอดกันแน่นนี้จะยาวนานหลายนาทีอยู่(พฤติกรรมการกอดผสมพันธุ์ของProcambarusจะยาวนานกว่า10นาที ในขณะที่cheraxจะกิน เวลาสั้นกว่าเพียงแค่1-2นาทีเท่านั้น) หลังจากนั้นภารกิจของตัวผู้ก็สิ้นสุด ผู้เลี้ยงสามารถย้ายเจ้ากุ้งตัวเมียไปยังตู้อนุบาลเลยก็ได้ เพื่อเป็นการเตรียมที่อยู่สำหรับลูกกุ้งน้อยๆในอนาคต หลังจากนั้นตัวเมียจะคอยผลิตไข่ขึ้นมาไว้บริเวณขาว่ายน้ำเป็นกระจุกๆ มองคล้ายพวงองุ่น

หลังจากนั้นไม่นานเนื้อเยื่อบางๆ ที่หุ้มถุงน้ำเชื้อที่กุ้งตัวผู้ได้นำมาติดไว้จะสลายลงปล่อยเจ้าสเปิร์มไซส์จิ๋วเพื่อให้ไข่ได้รับการปฏิสนธิ หลังจากที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว ตัวเมียจะหาที่หลบซ่อนนอนนิ่งไม่ยอมกินอะไร ระยะเวลาที่ตัวอ่อนใช้ในการพัฒนารูปร่างนั้นจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ปริมาณอาหาร และคุณภาพน้ำด้วย แต่โดยเฉลี่ยไข่จะพัฒนาจนเป็นตัวอ่อนที่มีหน้าตาเหมือนโตเต็มวัยภายใน3-4สัปดาห์ หลังจากนั้นลูกกุ้งจะถูกปล่อยให้ว่ายน้ำเป็นอิสระ ในการผสมพันธุ์ในแต่ละครั้งแม่กุ้งสามารถให้ลูกได้มากถึง300ตัวเลยทีเดียว ซึ่งพ่อแม่กุ้งนั้นค่อนข้างเป็นพ่อแม่ที่ดีโดยจะไม่มีพฤติกรรมกินลูกกุ้งเป็นอาหาร แล้วตัวลูกกุ้งเองก็มักจะอาศัยไม่ไกลจากพ่อแม่ของมันนัก เพื่อที่จะคอยเก็บกินเศษอาหารที่เหลือจากพ่อแม่นั่นเอง


                                                                               การอนุบาลตัวอ่อน
ตัวอ่อนของCrayfishจะมีขนาดประมาณ2-3มิลลิเมตรโดยจะกินเศษอาหารก้นตู้เป็นอาหารหลัก ผู้เลี้ยงสามารถให้อาหารเสริมเช่น ไส้เดือนฝอย ไรทะเล หรืออาหารเนื้อสัตว์อย่าง เนื้อปลา เนื้อกุ้งฝอยสับละเอียด แต่ควรระวังเรื่องคุณภาพน้ำให้ดี อย่าปล่อยเศษอาหารเหลือทิ้งไว้จนเน่าเสีย ควรเปลี่ยนใหม่ทุกวัน แต่อย่างไรก็ตามผู้เลี้ยงควรจะให้อาหารให้เพียงพอ เพราะตัวอ่อนจะมีพฤติกรรมกินกันเอง มันจะเล่นเกมส์The survivorผู้อ่อนแอต้องสละชีพในที่สุด ตู้อนุบาลตัวอ่อนก็ควรจะมีพื้นที่และวัสดุหลบซ่อน เช่นเดียวกับการเลี้ยงดูตัวเต็มวัย ใส่ท่อพีวีซี หรือ รากไม้ ขอนไม้ กระถางต้นไม้ลงไปเยอะๆ เพื่อเป็นที่แอบซ่อน เพราะว่าในช่วงเดือนแรกของชีวิตลูกกุ้งทั้งหลาย จะทำการลอกคราบบ่อยมาก หมายความว่าทุกครั้งที่ลำตัวอ่อนนิ่มก็จะมีเปอร์เซ็นต์ถูกพี่ๆน้องๆกินเป็นอาหารมากขึ้น การคัดแยกขนาดลูกกุ้งหลังจากหนึ่งเดือนแรก จะเพิ่มอัตรารอดชีวิตของลุงกุ้งได้มากขึ้น เมื่อลูกกุ้งมีอายุได้ราวๆหนึ่งเดือน จะเริ่มแสดงสีสันสดใสเหมือนตัวโตเต็มวัย
                                                                               การลอกคราบ
การลอกคราบนั้นถือเป็นกระบวนการสำคัญ ขั้นตอนหนึ่งในการเจริญเติบโตของเหล่าCrayfish ทั้งหลาย การลอกคราบนั้นแสดงถึงขนาดลำตัวที่เติบ ใหญ่มากขึ้น ลูกกุ้งจะทำการลอกคราบประมาณเดือนละครั้ง โดยระยะห่างในการลอกคราบแต่ละครั้งจะค่อยๆยาวนานขึ้นเมื่อกุ้งเติบโตขึ้น ยิ่งแก่ขึ้นก็ยิ่งลอกคราบน้อยลง โดยCrayfishที่โตเต็มที่นั้นจะลอกคราบเพียงปีละครั้งเท่านั้น ผู้เลี้ยงสามารถสังเกตได้ว่าช่วงที่Crayfishนั้นกำลังจะลอกคราบคือมันจะกินอาหารน้อยลง สีสันของลำตัวเริ่มหมองคล้ำลง และจะหาที่ปลอดภัยสำหรับหลบซ่อน และค่อนข้างอยู่นิ่งๆ เพราะว่าช่วงลอกคราบนั้นCrayfishจะตัวนิ่ม และอ่อนแอมาก อาจถูกกุ้งตัวอื่นจับกินเป็นอาหารได้

เจ้าCrayfishจะค่อยๆเซาะเปลือกชุดเก่าออกมาทางช่วงหาง และบริเวณจะโผล่ออกมาเป็นลำดับแรก หลังจากนั้นจะกระดึ๊บๆถอยหลังไล่ไปเรื่อยจนถึงส่วนหัวซึ่งเป็นลำดับสุดท้าย โดยเปลือกชุดเก่ามักจะถูกกินโดยกุ้งตัวอื่น เพื่อเป็นแหล่งแคลเซียมสำหรับการลอกคราบครั้งต่อไป หลังจากที่สลัดชุดเกราะอันเก่าออกแล้ว เจ้าCrayfishจะยังนอนตัวนิ่มอยู่ในที่ปลอดภัยประมาณอีก2-3วัน จนกว่าเปลือกจะแข็งเป็นปกติ

เปลือกแข็งขึ้นได้อย่างไร???  ก็ผ่านกระบวนการแข็งตัวของไคติน(chitin) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเปลือกซึ่งได้มาจากการดูดซึมแคลเซียมคาร์บอเนตนั่นเอง โดยก้ามจะเป็นส่วนแรกที่แข็งตัว จากนั้นจึงเริ่มไปบริเวณลำตัว หลังที่สวมชุดเกราะชุดใหม่อย่างสมบูรณ์แล้วCrayfish จึงจะมีความมั่นใจเต็มเปี่ยม ออกมาเดินนวดนาดเผยโฉมออกหาอาหารกินตามเดิม

ไม่ว่าจะเป็นก้าม ขาเดิน หรือขาสำหรับว่ายน้ำที่อาจจะหลุดหักไปจากการต่อสู้หรือการขนย้าย Crayfishจะซ่อมแซมตัวมันเอง โดยการสร้างขึ้นมาใหม่ได้ โดยผ่านกระบวนการลอกคราบ ในกรณีที่เป็นอวัยวะชิ้นใหญ่ๆอย่างก้ามหลุดขาดไป อาจจะต้องใช้เวลาลอกคราบถึง2-3ครั้ง ถึงจะสามารถสร้างก้ามใหม่ ที่มีสภาพสมบูรณ์ดังเดิม ส่วนการบาดเจ็บเล็กๆน้อยๆ อย่างขาหลุด ขาหักนั้น การลอกคราบเพียงครั้งเดียวก็สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้

 เมื่อผู้เลี้ยงสังเกตเห็นว่าCrayfishกำลังลอกคราบ ไม่ควรจะไปทำการรบกวนมัน เพราะว่าอาจเป็นการทำลายความต่อเนื่องของกระบวนการลอกคราบ ซึ่งเมื่อCrayfishตกใจจะทำให้กระบวนการลอกคราบไม่สมบูรณ์เต็มที่ โดยชิ้นส่วนของเปลือกชุดเก่ามักจะยังติดตาอยู่บริเวณก้าม ในขณะที่เปลือกชุดใหม่ก็เริ่มแข็งตัว อาจทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น เปลือกสองชั้นนั้นซ้อนทับกันอยู่ จึงอาจจะทำให้ก้ามชุดใหม่มีการขึ้นผิดรูป เบี้ยวๆงอๆไปบ้าง ดังนั้นควรงดรบกวนCrayfishเวลาลอกคราบ เราควรเป็นผู้ชมที่ดีรอชมCrayfishในชุดเกราะชุดใหม่ทีเดียวเลย จะเข้าท่ากว่า


                                                             การเลี้ยงรวมกับCrayfishชนิดอื่นๆ
ผู้เลี้ยงไม่ควรเลี้ยงCrayfishที่มีถิ่นกำเนิดต่างกันไว้ด้วยกัน เพราะว่าจากประสบการณ์นั้นProcambarusที่มาจากทวีปอเมริกานั้น ค่อนข้างมี อุปนิสัยก้าวร้าวมากกว่า(ทั้งระหว่างพวกเดียวกันเองและระหว่างญาติจากต่างทวีป) เมื่อนำProcambarusมาเลี้ยงรวมกับCheraxที่มาจากทางทวีปออสเตรเลียแล้ว พบว่าญาติฝั่งออสเตรเลียที่มีนิสัยเรียบร้อยสงบเงียบกว่า มีโอกาสถูกระรานจับกินเป็นอาหารมากกว่า ในทางกลับกันการเลี้ยงCrayfishหลายชนิดในกลุ่มเดียวกันรวมกันหลายๆตัว ก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้มีการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ขึ้น เกิดเป็นกุ้งHybridที่มีสีสันแปลกใหม่ขึ้นมาได้ โดยในปัจจุบันก็มีกุ้งHybridสีสันแปลกตาขึ้นมาหลายชนิดมาจำหน่ายมากขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากนี้ควรจะเลี้ยงCrayfishที่มีขนาดเท่าๆกัน หรือใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน ไม่เช่นนั้นสุดท้ายแล้วจะเหลือกุ้งผู้ชนะครองตู้เพียงตัวเดียว เจ้าตัวเล็กๆทั้งหลายจะจบชีวิตด้วยการเป็นอาหารว่างมื้อหนึ่งเท่านั้น


                                                              การเลี้ยงรวมกับปลาสวยงาม
ถึงแม้ว่าในธรรมชาตินั้นCrayfish จะเก็บเศษซากพืชซากสัตว์กินเป็นอาหารหลัก แต่ในที่เลี้ยงสถานที่ที่มีอาหารอย่างจำกัดนั้น มันจะจับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ กินเป็นอาหารได้ทุกเมื่อที่มีโอกาส เพราะฉะนั้นท่านผู้อ่านจึงไม่ควรเลี้ยงCrayfishรวมกับปลาสวยงามที่อาศัยอยู่บริเวณก้นตู้ หรือปลาสวยงามที่ว่ายเนิบนาบเชื่องช้า เพราะปลาเหล่านี้อาจจบชีวิตในฐานะอาหารมื้ออร่อยของเจ้าCrayfishทั้งหลายได้

ท่านผู้อ่านสามารถเลี้ยงCrayfishรวมกับปลาสวยงามขนาดกลาง ที่ว่ายน้ำบริเวณกลางน้ำหรือผิวน้ำได้เป็นอย่างดี และเน้นว่าต้องมีนิสัยไม่ดุร้าย ไม่เช่นนั้นอาจจะพบว่าCrayfishที่สามารถจับกินปลาตัวเล็กๆได้อยู่แหม่บๆนั้น ถูกรุมกินโต๊ะถูกกระชากไปทางซ้ายโดยเจ้าฟลาวเวอร์ฮอร์นก้ามหลุด ถูกทึ้งมาทางขวาโดยเจ้าเรดเทกซัสขาขาด เหลือแต่เปลือกจบชีวิตแบบที่ไม่ต่างไปจากกุ้งฝอย ที่เราๆใช้เป็นเหยื่อปลาทั่วไป

Crayfishจะอาศัยแต่บริเวณก้นตู้ จึงไม่สามารถขึ้นไประรานปลาสวยงามบริเวณกลางน้ำได้ นอกจากนี้Crayfishยังอาจทำหน้าที่เป็นพนักงานเทศบาล ช่วยเก็บเศษอาหารก้นตู้ได้เป็นอย่างดี โดยCrayfishที่มาจากทวีปอเมริกาจะมีนิสัยชอบจับปลากินเป็นอาหารมากกว่า ญาติที่มาจากทางออสเตรเลีย


                                                                       วิธีการเลือกซื้อ Crayfish
1. ควรจะมีอวัยวะสำคัญต่างๆครบสมบูรณ์คือ ดวงตาและก้ามครบ2ข้าง ขาเดินครบทั้ง5คู่ เพราะการที่มีอวัยวะไม่ครบ แสดงถึงความสามารถในการหาอาหารและป้องกันตัวเองที่ลดน้อยลง อาจจะทำให้Crayfishอ่อนแอ ตกเป็นอาหารของตัวอื่นๆได้ง่าย
2. Crayfishควรจะมีเปลือกลำตัวแข็ง ไม่อยู่ในช่วงระยะลอกคราบที่ร่างกายค่อนข้างอ่อนแอ
3. Crayfishที่แข็งแรงควรมีการแสดงปฏิกิริยาป้องกันตัวเมื่อถูกรบกวน เช่น การยกก้ามคู่ป้องกันตัวเอง หลบหนีด้วยการดีดลำตัวอย่างว่องไวหรือ พยายามปีนป่ายหนีเมื่อนำมาใส่ภาชนะ

ขอขอบคุณ 
http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=9.0